ชุดดินธาตุพนม
(That Phanom series: Tp) |
กลุ่มชุดดินที่ 33
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic
Ultic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมบริเวณสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
มีความลาดชัน 1-4 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วน
สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาล ปนเทา ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
สีน้ำตาลปนแดงหรือสีน้ำตาลและเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนดินเหนียว
สีแดงปนเหลืองหรือสีแดงในดินล่างลึกลงไป จะพบจุดประสีเทาปนชมพู
สีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลืองในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
(pH 5.5-7.0) ตลอด |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกำแพงแสน และชุดดินกำแพงเพชร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปลูกไม้ผล พืชไร่และพืชผักต่างๆ
ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปด้วย
เพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์และมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้น |