ชุดดินสกล (Sakon series: Sk)

กลุ่มชุดดินที่ 49
การจำแนกดิน Loamy-skeletal over fragmental mixed, subactive, isohyperthermic
Petroferric Haplustults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนชะมาทับถมบนหินตะกอนเนื้อละเอียดบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง และถูกนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับทำถนน
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-Bt-Bsm-2Bgv(2Cgv)
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นดานแข็งของศิลาแลง ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย (ปนกรวดลูกรัง) สีเทาเข้มหรือสีน้ำตาลเข้ม ดินล่างเป็นดินร่วนปนก้อนกรวดหรือดินร่วนเหนียวปนก้อนกรวดลูกรัง สีน้ำตาลหรือน้ำตาลแก่ จะพบแผ่นศิลาแลงภายใน 50 ซม. จากผิวดิน ซึ่งจะจับตัวเป็นชั้นดานมีขนาดใหญ่และแข็งจนไม่สามารถที่จะเจาะผ่านได้ ในบางแห่งหน้าดินจะถูกชะล้างไปจนถึงชั้นแผ่นศิลาแลง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินอ้น
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้น จะพบแผ่นศิลาแลงขนาดใหญ่และหนาจนไม่สามารถเจาะผ่านได้ พบอยู่ภายใน 50 ซม. ซึ่งขัดขวางการเจริญเติบโตของพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ ไม่ควรจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร เพราะจะต้องใช้การจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นดินตื้น




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙