ชุดดินพิมาย
(Phimai series: Pm) |
กลุ่มชุดดินที่ 4
การจำแนกดิน Very fine, smectitic, isohyperthermic
Ustic Endoaquerts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบน้ำท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า
1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา
การแพร่กระจาย ที่ราบลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง
การจัดเรียงชั้น Apg-Bssg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด
หน้าดินมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล ปนเทาเข้ม ดินล่างมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน
มักพบจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดงหรือแดงปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน
ฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหงกว้างและลึกพบรอยไถลชัดเจนและอาจพบก้อนเหล็กหรือแมงกานีสสะสมปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ตลอด |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
25-50 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสิงห์บุรี และชุดดินศรีสงคราม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเหนียวจัด สมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี
มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรไถพรวนในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม
ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น
ถ้ามีโครงการชลประทานที่สมบูรณ์แบบ จะเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |