ชุดดินมหาสารคาม
(Maha Sarakham series: Msk) |
กลุ่มชุดดินที่ 41
การจำแนกดิน Loamy, siliceous, subactive isohyperthermic
Oxyaquic Arenic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน
2-5 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเต็งรัง
มันสำปะหลัง อ้อยและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Ap-E-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินทราย
สีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาล
สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดงและมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายในระหว่างความลึก
50-100 ซม. และพบจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีเหลืองปนแดงภายในความลึก
100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.0-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 4.5-6.5) ในดินล่าง
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบ้านไผ่ และชุดดินน้ำพอง
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ ดินเป็นทรายจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
พืชมักแสดงอาการขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัดเจน ในช่วงฝนแล้งและเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลาย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ เพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น
ปลูกพืชทนแล้ง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง |