ชุดดินกุลาร้องไห้
(Kula Ronghai series: Ki) |
กลุ่มชุดดินที่ 20
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic
Typic Natraqualfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา บางแห่งถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า
เนื่องจากเป็นดินเค็มจัด
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Apg-Btgn-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
สีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย
สีเทาหรือสีเทาปนชมพู ซึ่งเป็นชั้นสะสมประจุโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้
มักพบจุดประสีน้ำตาล สีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน
ในฤดูแล้งจะมีคราบเกลือลอยหน้าที่ผิวดิน ในดินล่างลึกกว่า
1 เมตรลงไป เป็นดินร่วน สีเทาหรือสีเทาปนเขียวหรืออาจพบดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน
สีเทาปนชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อน (ชั้น 2C) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
(pH 5.0-7.0) ในดินบนและเป็นด่างเล็กน้อยถึงเป็นด่างจัด
(pH 7.5-8.5) ในดินล่าง
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินอุดร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็มด่าง มีเกลือโซเดียมสูงซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
มีโครงสร้างไม่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุและใส่ยิปซัม
ปลูกพืชทนเค็ม และสร้างแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในยามที่ฝนทิ้งช่วง |