ชุดดินบุรีรัมย์ (Buri Ram series: Br)

กลุ่มชุดดินที่ 1
การจำแนกดิน Fine, smectitic, isohyperthermic Ustic Epiaquerts
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือ เศษหินเชิงเขาของหินบะซอลต์
พบบนส่วนต่ำของลาวาหลาก
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงช้ามาก
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ปัจจุบันใช้ทำนา
การแพร่กระจาย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Apg-Bssg-Bss
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดินเป็นสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ในฤดูแล้งจะมีรอยแตกระแหงกว้างและลึกและมีรอยไถลในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ในดินบนและเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินวัฒนา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเหนียวจัด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรไถพรวนในช่วงที่ดินอยู่ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม ควรปรับปรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นและปุ๋ยเคมี




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙