ชุดดินวังชมพู (Wang Chomphu series: Wc)

กลุ่มชุดดินที่ 28
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic Chromic Haplusterts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 2-8 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่ว ทานตะวัน หรือไม้ผล เช่น น้อยหน่า ขนุน มะม่วง มะขาม
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bss-Ck
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้มมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 5.5-8.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนสีมะกอก มีจุดประสีเทาปนน้ำตาลอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) และพบรอยถูไถเป็นมัน เนื่องจากการยืดและหดตัวของดิน เมื่อดินเปียก
และแห้งสลับกัน ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนสีมะกอก มีจุดประสีเทาปนน้ำตาลอ่อน มีก้อนปูนทุติยภูมิปะปนในดิน ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินชัยบาดาล และชุดดินลำนารายณ์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินเหนียวจัดและแน่นทึบ ไถพรวนลำบาก เมื่อดินแห้ง ดินอาจแตกระแหงทำให้รากพืชเสียหายได้
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยใช้อินทรียวัตถุ การปลูกพืชที่มีระบบรากลึก เช่น ไม้ผล จำเป็นต้องปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินล่างในเบื้องต้น โดยการใช้อินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้า ใช้ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะฟอสฟอรัสในรูปที่ละลายช้า และให้จุลธาตุเพิ่มเติมสำหรับพืชบางชนิดเมื่อพืชเริ่มแสดงอาการขาด




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙