ชุดดินอุตรดิตถ์
(Uttaradit series: Utt) |
กลุ่มชุดดินที่ 7
การจำแนกดิน Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic
Aquic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน
1-3 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ดัดแปลงมาใช้ทำนา
ทำให้มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน และปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด
อ้อย ยาสูบ ถั่วต่างๆ พืชผัก ก่อนและหลังฤดูทำนา
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคเหนือโดยเฉพาะลำน้ำน่าน
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(Apg)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว
ปนทรายแป้ง สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลปนเทาเข้ม
มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีแดงปน
เหลืองปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นเล็กน้อย (pH
5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว
สีน้ำตาลปนแดง มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH
6.5-8.0) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินตะพานหิน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินที่ใช้เพาะปลูกมานาน ใต้ชั้นไถพรวนมักแน่นทึบ
รากชอนไชได้ยาก พื้นที่ ที่ดัดแปลงทำนา จะมีน้ำแช่ขังในฤดูฝน
ไม่เหมาะที่จะใช้ปลูกพืชไร่หรือไม้ผล พื้นที่ที่ไม่ได้ดัดแปลงทำนา
ดินล่างมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ทำให้รากพืชอาจแช่ขังน้ำเป็นเวลานานในช่วงฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำลายชั้นดานใต้ชั้นไถพรวนโดยไถให้ลึกกว่าปกติ
ปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอโดยเพิ่มอินทรียวัตถุ และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
หากปลูกไม้ผลหรือพืชไร่ต้องยกร่องให้สูงขึ้น และระบายน้ำออกให้อยู่ในระดับที่
ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของราก |