ชุดดินไทรงาม
(Sai Ngam series: Sg) |
กลุ่มชุดดินที่ 38
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic
Oxyaquic (Ultic) Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพา บริเวณสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
ความลาดชัน 1-3 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ
พืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ยาสูบ ถั่วต่างๆ พืชผัก
และไม้ผล
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคเหนือ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลปนเทาเข้มถึงสีน้ำตาลเข้ม
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-6.5)
ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึง
เป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างลึกๆ อาจพบชั้นทราย
และดินนี้มีเกล็ดไมก้าตลอดชั้นดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกำแพงแสน และชุดดินกำแพงเพชร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินค่อนข้างเป็นทราย มีอินทรียวัตถุต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอโดยเพิ่มอินทรียวัตถุ
และควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น |