ชุดดินภูสะนา
(Phu Sana series: Ps) |
กลุ่มชุดดินที่ 46
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, mixed, isohyperthermic
Kanhaplic Haplustults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินแกรนิตและหินแกรโนไดโอไลท์เนื้อหยาบบริเวณภูเขา
และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด
ความลาดชัน 3-8 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเต็งรัง
พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ ปอแก้ว
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคเหนือและที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นกรวดเหลี่ยมของแร่ควอตซ์หนาแน่นมากภายในความลึก
50 ซม. จากผิวดิน ปริมาณและขนาดของควอตซ์เหลี่ยมจะเพิ่มมากขึ้นตามความ
ลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทาเข้มมาก
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดเหลี่ยมมาก สีน้ำตาลแก่หรือสีแดงปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0-5.5)
ชั้นหินที่กำลังผุพังสลายตัวมีสีแดง สีขาว และสีเหลืองปะปนกัน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินโป่งตอง และชุดดินมาบบอน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีกรวดเหลี่ยมปะปนอยู่หนาแน่นมาก
รากพืชชอนไชได้ยาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
ดินจะถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและเพิ่มผลผลิตพืชโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ควรไถพรวนให้ลึกและปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ การปลูกไม้ผลควรเตรียมหลุมดินให้ลึกและกว้าง
เพื่อให้รากพืชไชชอนได้ง่ายขึ้น จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมโดยใช้วิธีพืชหรือวิธีกล
หรือทั้งสองวิธีร่วมกัน |