ชุดดินนครสวรรค์
(Nakhon Sawan series: Ns) |
กลุ่มชุดดินที่ 47
การจำแนกดิน loamy-skeletal, mixed, superactive,
isohyperthermic Ultic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากการผุพังของหินแปรพวกไมกาชีสต์และไมก้าไนส์
บริเวณพื้นที่ภูเขา และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน
6-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ
ไม้พุ่ม ไผ่ และพืชไร่ เช่น
ข้าวโพด ถั่ว
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bt-R
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นเศษหินและก้อนหินหนาแน่นมาก
พบชั้น
หินพื้นในช่วงความลึกต่ำกว่า 50-125 ซม. จากผิวดิน
ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีเศษหินปะปนเล็กน้อย
สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียวและมีเศษหินและก้อนหินปะปนอยู่มาก
สีน้ำตาลปนแดงหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง
(pH 6.0-7.0) จะพบเกล็ดไมก้าตลอดชั้นดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลี้ และชุดดินท่าลี่
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้นถึงชั้นก้อนหินหนาแน่น
พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ดินจะถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ บริเวณที่มีความลาดชันไม่มากนัก
(ไม่เกิน 12%) และดินไม่ตื้นมาก อาจใช้ปลูกพืชไร่ได้
แต่ต้องรบกวนดินน้อยที่สุด พร้อมทั้งจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมโดยใช้วิธีพืช
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและเพิ่มผลผลิตพืชโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
พื้นที่ลาดชันสูงไม่ควรนำมาใช้เพาะปลูก ควรให้คงสภาพป่าหรือฟื้นฟูสภาพป่า |