ชุดดินน้ำเลน
(Nam Len series: Nal) |
กลุ่มชุดดินที่ 28
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic
Aquertic Paleustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด
ความลาดชัน 2-8 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พืชไร่ เช่น
ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และถั่วต่างๆ
การแพร่กระจาย พบมากในเขตที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bt-(Bss)
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวถึงดินเหนียว
สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลปนเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียว ตอนบนสีน้ำตาลปนแดงถึงสีแดง
ตอนล่างสีน้ำตาลถึงสีเทาอ่อน มีจุดประสีแดงหรือสีน้ำตาลปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH
6.5-8.0) เมื่อดินแห้ง จะแตกระแหงเป็นร่องลึก ดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถเป็นมันเล็กน้อย
เนื่องจากการยืดและหดตัวของดิน เมื่อดินเปียกและแห้งสลับกัน
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินวังชมพู
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินเหนียวจัดและแน่นทึบ ไถพรวนลำบากเมื่อแห้งและเปียกเกินไป
เมื่อดินแห้ง ดินจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้รากพืชเสียหาย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ไถพรวนเมื่อมีความชื้นเหมาะสม
ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยขึ้นโดยใช้อินทรียวัตถุ และเพิ่มผลผลิตพืชโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี |