ชุดดินดงลาน
(Dong Lan series: Dl) |
กลุ่มชุดดินที่ 28
การจำแนกดิน Fine, mixed, active, isohyperthermic
Vertic (Aquic) Haplustolls
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาที่ทับถมอยู่บนชั้นดินเหนียวที่ผุพังสลายตัวจากหินทรายแป้งหรือหินดินดานบริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
ความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางในดินบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ
พืชไร่ เช่น ข้าวโพด และอ้อย
การแพร่กระจาย เนินตะกอนรูปพัดใกล้ภูเขาหินปูน พบทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อกับพื้นที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bw-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว
สีดำ
หรือสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง
(pH 6.0-7.0) ดินล่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว
สีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีแดง สีเหลือง
และสีน้ำตาล มีรอยถูไถเนื่องจากการยืดและหดตัวของแร่ดินเหนียว
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5)
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลพบุรี และชุดดินวัฒนา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินล่างแน่นทึบและระบายน้ำไม่ดี
เมื่อแห้งจะแตกระแหงเป็นอันตรายต่อรากพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ยกระดับแปลงปลูกพืชให้สูงขึ้นเพื่อบรรเทาการแช่ขังน้ำของรากพืช
หาแหล่งน้ำสำรอง เพื่อไม่ให้ดินแห้งและเกิดการแตกระแหง
ปรับปรุงปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ำดีขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ |