ชุดดินบ้านโภชน์
(Ban Phot series: Bpo) |
กลุ่มชุดดินที่ 1
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic
(Chromic) Ustic Epiaquerts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบน้ำท่วม
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน
0-1 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้าว และปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก ก่อนและหลังฤดูฝน
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bssg-(Bwg)
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง
สี
เทาเข้มถึงสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
เป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียว
สีน้ำตาลปนเหลืองถึงสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลหรือปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างเล็กน้อย
(pH 5.5-7.5) ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานๆ ดินจะแห้งและแข็ง
แตกระแหงเป็นร่องลึก |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพิมาย ชุดดินสระบุรี
และชุดดินศรีสงคราม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็ง
ยากต่อการไถพรวน และแตกระแหง ทำให้รากพืชเสียหาย ดินเปียกจะเหนียวจัด
ยากต่อการไถพรวน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงโครงสร้างของดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ
เช่น การไถกลบเศษพืช การใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ไถพรวนในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ
ไม่แห้งและเปียกเกินไป จัดหาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เมื่อฝนทิ้งช่วง
เพื่อป้องกันไม่ให้ดินแตกระแหง และทำลายระบบรากของพืช |