ชุดดินบางมูลนาก (Bang Mun Nak series: Ban)

กลุ่มชุดดินที่ 4
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, semiactive, nonacid, isohyperthermic Aeric Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบน้ำท่วม
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว อาจใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว หรือพืชผัก ก่อนหรือหลังปลูกข้าว
การแพร่กระจาย พบมากในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณลำน้ำน่าน
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bwg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาล สีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH4.5-5.5) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ดินล่างตอนล่าง เป็นสีน้ำตาลปนเทา สีเทาปนแดง หรือสีน้ำตาลปนเทาอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
มากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีแดงปนเหลือง หรือสีแดงตลอดชั้นดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพิมาย และชุดดินราชบุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ อาจมีน้ำท่วมบ่าและแช่ขังระดับสูงในฤดูฝน ทำให้ข้าวเสียหายได้
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ หลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงกลางฤดูฝนที่มีฝนตกหนักมาก ในพื้นที่ชลประทานและไม่มีปัญหาน้ำท่วมบ่าหรือแช่ขัง อาจปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ซึ่งจะต้องยกร่องและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ำดีขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙