ชุดดินท่าขวาง
(Tha Khwang: Tq) |
กลุ่มชุดดินที่ 2
การจำแนกดิน Fine, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic
Vertic (Aeric) Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำกร่อย
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % อยู่สูง
3-4 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย พบทางด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลาง
ภาคใต้ในบริเวณพื้น
ที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
ดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียว สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา
มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปน
เหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียว สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา
มีจุดประสีแดง และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวอยู่ลึกกว่า
100 ซม. จากผิวดิน อาจพบรอยไถลและผลึกยิปซัม ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียวปนทราย
สีน้ำตาลปนเทาปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
สูง |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินมหาโพธิ ชุดดินอยุธยา
และชุดดินรังสิต
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินเป็นกรดจัด มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก
1 เมตร นาน 6-7 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปูนมาร์ลเพื่อแก้สภาพกรดของดิน
ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมี
เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น |