ชุดดินท่าม่วง
(Tha Muang: Tm) |
กลุ่มชุดดินที่ 38
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, active, calcareous,
isohyperthermic Typic Ustifluvents
การกำเนิด ตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
1-5 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปลูกไม้ยืนต้นและพืชผักสวนครัว
ยาสูบ และ
ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
การแพร่กระจาย พบทั่วไปตามสันริมน้ำ
การจัดเรียงชั้นดิน A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง
ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้ม และสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) ดินตอนล่างมีลักษณะเนื้อดินและสีไม่แน่นอนขึ้นอยู่
กับตะกอนที่น้ำพามาทับถมในแต่ละปี ซึ่งอาจแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน
เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายสลับกันไปมา
สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองปฏิกิริยาดิน เป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย
(pH 6.0-7.0) อาจพบจุดประสีในดินล่างที่ความลึก 50-100
ซม.จากผิวดิน และพบเกล็ดแร่ไมกาปะปนอยู่ตลอดหน้าตัดดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสรรพยา ชุดดินเชียงใหม่
ชุดดินกำแพงแสน และชุดดินรือเสาะ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ อาจมีน้ำท่วมในบางช่วงของฤดูเพาะปลูกทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้
หน้าดินค่อนข้างเป็นทราย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปลูกพืชไร่หรือไม้ผล ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก
และปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืช
ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น |