ชุดดินท่าจีน (Tha Chin Series: Tc)
กลุ่มชุดดินที่ 12
การจำแนกดิน Fine, smectitic, nonacid, isohyperthermic Sodic Hydraquents
การกำเนิด ตะกอนน้ำทะเล
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าชายเลน โกงกาง แสม ลำพู จากและ
ไม้ทนน้ำเค็ม ทำนาเกลือ เลี้ยงปลาและกุ้ง
การแพร่กระจาย พบอยู่ทั่วไปในพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง ตามชายฝั่งทะเลและทางด้าน
ใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Ag-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาล มีจุดประสีเทาหรือสี น้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ดินบนตอนล่าง เป็นดิน
เหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง และตั้งแต่ระดับความลึก 50 ซม. ลงไปอาจเป็นดินเลน สีเทาเข้มหรือสีเทาปนเขียว มีจุดประสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวปนเทา ชุดดินนี้มีค่าเอ็น (n-value) มากกว่า 0.7 ตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นด่างเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบางปะกง และชุดดินสมุทรปราการ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็มจัด น้ำทะเลท่วมถึง ระดับน้ำใต้ดินขึ้นสูงเกือบถึงผิวหน้าดินตลอดปี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ (ป่าชายเลน) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลต่างๆ แต่บางส่วนที่อยู่ห่างทะเลมาก อาจใช้ปลูกพืชทนเค็มได้โดยการยกร่อง




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙