ชุดดินเสนา
(Sena Series: Se) |
กลุ่มชุดดินที่ 11
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, active, acid, isohyperthermic
Sulfic
Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนทะเลผสมกับตะกอนลำน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่ใช้ทำนา
การแพร่กระจาย บริเวณที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึงทางด้านใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Sssg-Bssg-Bjg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว
สีดำ หรือสีเทาเข้ม ถัดลงไปเป็นสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลและเป็นดินเลนสีเทา
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทา พบจุดประสีน้ำตาลแก่หรือแดงปนเหลืองปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัดมาก
(pH 4.0-4.5) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเลนเหนียว สีเทาเข้มหรือสีเทา
จุดประสีเหลืองปนน้ำตาล จะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบกำมะถันปนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่
50-100 ซม. และพบรอยไถลผิวหน้าอัดมันและผลึกยิปซัม
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 4.5-8.0) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินรังสิต ชุดดินองครักษ์
ชุดดินธัญบุรี ชุดดินอยุธยา และชุดดินมหาโพธิ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินเป็นกรดจัดมาก มีน้ำท่วมสูง
1 เมตร นาน 4-5 เดือน ใช้ทำนาหว่านได้เพียงอย่างเดียว
ผลผลิตต่ำ ในบริเวณพื้นที่เขตชลประทานใช้ทำนาดำ หรืออาจปลูกพืชผักและพืชไร่ในฤดูแล้ง
แต่ผลผลิตไม่ดีนัก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรปรับสภาพกรดของดินให้เหมาะสม
โดยการใช้ปูนมาร์ล และไถคลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ตั้งแต่ก่อนฤดูปลูก
ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีควบคู่กันเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติดินทั้งทางกายภาพและทางเคมีให้ดีขึ้น |