ชุดดินสระบุรี
(Sarabur serirs: Sb) |
กลุ่มชุดดินที่ 4
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic
Vertic (Aeric) Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนน้ำพาบนส่วนต่ำของตะพักขั้นต่ำหรือพื้นที่รอยต่อของที่ราบน้ำท่วม
กับตะพักขั้นต่ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-1 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย ที่ราบลุ่มภาคกลางและที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bag-Bg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวสีเทาเข้ม
หรือสีน้ำตาลปน
เทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง
(pH 6.0) ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง
สีออกน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่
ปฏิกิริยาเป็นด่างแก่ (pH 8.5) พบรอยไถล ผิวหน้าอัดมัน
และพบการสะสมก้อนเหล็กและแมงกานีสในดินล่าง อาจพบเม็ดปูนสีขาวอยู่ในดินล่างลึกลงไป
ในฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหง |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินนครปฐม ชุดดินราชบุรี
และชุดดินสิงห์บุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 50
ซม. นาน 4-5 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น |