ชุดดินปากท่อ
(Pak Tho Series: Pth) |
กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic (Aeric)
Plinthic Palequults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัดหรือตะกอนตะพัก
ลำน้ำเก่าระดับต่ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-ABg-Btg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง
สีเทาอ่อน มีจุดประสีเหลืองปนน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง
(pH 5.5-6.0) ดินบนตอนล่าง สีน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก
(pH 5.0) ดินล่างตอนล่างดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาอ่อน
มีจุดประสีแดงปนเหลืองหรือสีแดง มีลักษณะเป็นศิลาแลงอ่อนมีปริมาณมากกว่า
5-50 % ภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดิน อาจพบมวลก้อนกลม
(nodules) ของแมงกานีส
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินเดิมบาง ชุดดินเขาย้อย
และชุดดินเชียงราย
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ คุณสมบัติทางกายภาพไม่ดี
น้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 30 ซม. นาน 4-5 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
ในอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตและบำรุงรักษาดิน |