ชุดดินเพชรบุรี
(Petchaburi series: Pb) |
กลุ่มชุดดินที่ 21
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, active, isohyperthermic
Aquic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนส่วนต่ำของเนินตะกอนรูปพัด
ตะพักลำน้ำค่อนข้างใหม่หรือสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย พบบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบน เป็นดินร่วนปนทราย
ดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5)
ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย
สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง จะพบจุดประเล็กน้อยปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.5) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียว
ปนทราย สีน้ำตาลปนเหลืองจุดประสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดปานกลาง (pH 6.0)
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกำแพงแสน และชุดดินนครปฐม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีน้ำท่วมขังลึก
3 ซม. นาน 4 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดิน
โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ พวกปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและทางเคมีให้ดีขึ้น
ทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และช่วยให้ดูดซับธาตุอาหารไว้ได้ดีขึ้น
ไม่ถูกชะล้างไปได้โดยง่าย |