ชุดดินนครปฐม (Nakhon Pathom Series: Np)
กลุ่มชุดดินที่ 7
การจำแนกดิน Fine, mixed, active, isohyperthermic Aeric Endoaqualfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา ปลูกถั่ว งา หรืออ้อย
การแพร่กระจาย พบทางด้านหรือและตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Btg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย(pH 5.0-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลืองในดินบนและดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างตอนล่าง และจะพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ พบมวลก้อนกลมของปูนในดินล่างในระดับความลึก 80 ซม.จากผิวดินลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
สูง
สูง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
สูง
สูง
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสระบุรี ชุดดินเดิมบาง ชุดดินมโนรมย์ ชุดดินกำแพงแสน และชุดดินเพชรบุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 50 ซม. นาน 3-4 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรมีระบบการชลประทานเข้าช่วย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙