ชุดดินหนองแก
(Nong Kae Series: Nk) |
กลุ่มชุดดินที่ 20
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic
Aquic Natrustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำทะเลพามาทับถมอยู่บนตะพักที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
สภาพให้ซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม้พุ่มหนาม
ทำนา
การแพร่กระจาย ด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน A-E-Bt-Btg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน
สีน้ำตาลปนเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด
(pH 6.0-5.5) ดินบนตอนล่าง เป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว
หรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาปนชมพู
มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเขียว และน้ำตาลปนเหลือง
ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0)
ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลอ่อนถึงสีขาวจะพบมวลก้อนกลมเหล็กและแมงกานีสสะสมและมวลก้อนกลมปูนสะสม
|
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
25-50 |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกุลาร้องไห้
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็ม มีเกลือมากเกินไป
ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ต้องใช้พืชที่ทนความเค็มได้ดีพอควร
ถ้าทำนา ระวังอย่าให้ขาดน้ำถ้าขาดน้ำข้าวจะตายเพราะเกลือ
ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี |