ชุดดินลาดหญ้า (Lat Ya Series: Ly)
กลุ่มชุดดินที่ 56
การจำแนกดิน Fine-loamy, siliceous, isohyperthermic Kanhaplic Haplustults
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทาง
ใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทรายและหินควอร์ตไซต์ โดยมีหิน
ดินดานและหินฟิลไลท์เป็นหินพื้น
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชันหรือเป็นเขา มีความลาดชัน 2-20 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบแล้ง ปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย พบอยู่ทุกภาคของประเทศไทย นอกจากบริเวณคาบสมุทรหรือ ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-BA-Bt-BC
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง
(pH 5.0-6.0) ดินบนตอนล่าง เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดงและเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 5.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว สีแดงปนเหลืองในช่วงความลึก 50-125 ซม. จากผิวดิน ก้อนกรวดเป็นพวกเศษหินควอร์ตไซต์ หินทราย หินฟิลไลท์ และหินดินดาน และมวลสารกลมของหินลูกรังกระจายอยู่ทั่วไปในชั้นดินปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่ายาง และชุดดินพะโต๊ะ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ และการกัดกร่อนของดิน ถ้าไม่มีการจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ในการปลูกพืช ควรมีวิธีการที่เหมาะสมเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชตามแนวระดับและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อช่วยให้ดินอุ้มน้ำ และยึดธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น พืชสามารถดูดไปใช้ได้




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙