ชุดดินลพบุรี
(Lop Buri Series: Lb) |
กลุ่มชุดดินที่ 28
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic
Typic Haplusterts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาที่มีแร่ดินเหนียวส่วนใหญ่เป็นพวกมอนต์มอริลโลไนต์
ทับถมอยู่บนชั้นปูนมาร์ล หรือตะพักเขาหินปูน
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
1-5 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ
ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ และข้าว
การแพร่กระจาย พบส่วนใหญ่ทางด้านเหนือของที่ราบลุ่มภาคกลางหรือที่สูงตอนกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bss-BCk
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว
สีดำหรือสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง
(pH 6.5-8.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียว สีดำหรือสีเทาเข้มมาก
พบชั้นปูนมาร์ลในระดับลึก 80 ซม. ลงไป ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่อง
กว้างกว่า 1 ซม. หรือมากกว่า ที่ความลึก 50 ซม. และรอยแตกนี้จะคงอยู่นาน
จะพบรอยไถลและหน้าตัดดินมีมวลก้อนกลมปูนสะสมอยู่ทั่วไป
ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงด่างจัด (pH 8.0-9.0)
ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีดำหรือสีน้ำตาลปนเทา
ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0 ) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
25-50 |
สูง |
สูง |
สูง |
ปานกลาง |
สูง |
สูง |
50-100 |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินตาคลี ชุดดินบุรีรัมย์
และชุดดินบ้านหมี่
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ
ถ้าไถพรวนไม่ถูกวิธีจะทำให้การไพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปเหมาะในการปลูกพืชไร่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ้ายหรือข้าวโพด แต่ควรไถพรวนดินในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสมและควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
เพื่อเพิ่มผลผลิต |