ชุดดินเขาย้อย
(Khao Yoi Series: Kyo) |
กลุ่มชุดดินที่ 18
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic
Aeric Endoaqualfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำระดับต่ำหรือเนินตะกอน
น้ำพารูปพัดติดต่อกัน
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบมีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย พบส่วนใหญ่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Btg-Bcg-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
สีเทาปนน้ำตาลหรือสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย
(pH 6.0-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
หรือดินร่วนปนดินเหนียว สีอ่อนของเทาปนน้ำตาล สีเทาปนชมพู
หรือสีอ่อนของน้ำตาลปนแดง มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีแดงปนเหลืองตลอดหน้า
ตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.5-6.5)
ดินล่างตอนล่าง มีมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสทั้งอ่อนและแข็งอยู่ในดินล่างลึกลงไป
ปฏิกิริยาดิน เป็นกลาง (pH 7.0) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินปากท่อ ชุดดินเดิมบาง
และชุดดินนครปฐม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นทราย
ทำให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในการ ทำนา ถ้านำมาปลูกพืชไร่
น้ำแช่ขังนานถึง 4 เดือน ลึก 30 ซม.
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ใช้ทำนา ต้องปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชให้กับดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น |