ชุดดินกำแพงแสน
(Kamphaeng Saen Series: Ks) |
กลุ่มชุดดินที่ 33
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic
Typic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด
สันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นที่อยู่อาศัย
หมู่บ้าน สวนไม้ผลหรือปลูก
พืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด กล้วย ถั่ว ฝ้าย และยาสูบ
การแพร่กระจาย พบบริเวณด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลางของแม่น้ำต่าง
ๆ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วน
สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นด่างอ่อน
(pH 8.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วน
สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างอ่อน
(pH 7.0-8.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
สีน้ำตาลถึงสี
น้ำตาลเข้ม พบเกล็ดแร่ไมกาตลอดหน้าตัดของดินและมวลสารพวกปูนสะสมปะปนอยู่ในดินชั้นล่างปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างอ่อน
(pH 7.0-8.0) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
สูง |
สูง |
25-50 |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินปราณบุรี และชุดดินกำแพงเพชร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ อาจจะขาดน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูกซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ดินมีความเหมาะสมดีในการปลูกพืชทั่วๆ
ไป ถ้ามีการชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเพียงพอ ดินนี้จะเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศ
ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก
เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชให้กับดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น |