ชุดดินดอนไร่ (Don Rai Series: Dr)
กลุ่มชุดดินที่ 35
การจำแนกดิน Fine-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiustults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัดหรือตะกอน
ลำน้ำเก่าระดับกลาง
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง
ข้าวโพด ถั่วต่างๆ บางแห่งใช้ปลูกไม้ผลยืนต้น
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงใต้
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน สีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวสีน้ำตาลปนเหลืองปฏิกิริยาดินกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ในดินล่างตอนล่าง เป็นดินหนียวปนทราย สีเหลืองปนแดงดถึงสีน้ำตาลปนเหลือง มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปนเหลือง อาจพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสสะสมในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินโคราช
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ในบางแห่งดินจะมีระดับน้ำใต้ดินตื้น
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปลูกพืชไร่ ควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและโครงสร้างของดินและเพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙