ชุดดินดอนเจดีย์ (Don Chedi Series: Dc)
กลุ่มชุดดินที่ 38
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Dystrustepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนลำน้ำพามาทับถมบนเนินตะกอนรูปพัดหรือสันดินริมน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 1-2 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้ปลูก
สร้างที่อยู่อาศัยและใช้ปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย ด้านเหนือของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-AB-Bw
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด (pH 5.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดงปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด (pH 5.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 5.0-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกำแพงแสน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเป็นทรายจัด น้ำซึมผ่านได้ค่อนข้างเร็ว ดินอุ้มน้ำไว้ได้น้อย เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ย พืชสด เพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ดีขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปด้วย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙