ชุดดินฉะเชิงเทรา (Chachoengsao Series: Cc)

กลุ่มชุดดินที่ 3
การจำแนกดิน Fine (Very-fine), mixed, nonacid, semiactive, isohyperthermic Vertic Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยพามาทับถมอยู่บนที่ราบลุ่มน้ำทะเลเคยท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Bssg-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวตลอด ดินบนมีสีเทาเข้มถึงเข้มมาก มีจุดประสีน้ำตาลหรือแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด (pH 5.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาถึงสีเทา มีจุดประสีแดงปนเหลืองและสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกลาง (pH 7.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทา จุดประสีเหลืองปนน้ำตาล
และอาจจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวปนอยู่บ้างเล็กน้อยในระดับความลึกมากกว่า 100 ซม. จะพบดินเลนสีน้ำเงินที่มีปริมาณกำมะถันต่ำและรอยไถลในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินมหาโพธิ ชุดดินอยุธยา ชุดดินดินบางเขน และชุดดินบางกอก
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำท่วมในฤดูฝน 30-40 ซม. นาน 4-5 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ถ้าสามารถยกร่องให้สูงพ้นน้ำท่วม ก็สามารถปลูกพืชไร่และพืชสวนครัวได้ ควรมีการปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้น โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙