ชุดดินอยุธยา
(Ayutthaya series: Ay) |
กลุ่มชุดดินที่
2
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, active,
acid, isohyperthermic, Vertic Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนลำน้ำผสมกับตะกอนภาคพื้นสมุทร
เกิดการพัฒนาในำสภาพน้ำกร่อย
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ทำนาหว่าน
การแพร่กระจาย พบบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง
ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง หรือมีการระบายน้ำที่มีตะกอนภาคพื้นสมุทรอยู่ข้างล่าง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bssg-Bg-Bj-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียว
สีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง (pH 6.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียวมีสีเทา
สีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทาน้ำตาล มีจุดประสีแดงปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
(pH 5.5) และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวที่ความลึก 100-150
ซม. จะพบผลึกของแร่ยิปซัมและรอยไถลระหว่างชั้นดินบนและดินล่าง
ดินมีกำมะถัน
สูงและปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH4.5-5.0)
|
ความลึก (ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์ |
0-25 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ปานกลาง |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
50-100 |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินมหาโพธิ ชุดดินบางเขน
ชุดดินรังสิต ชุดดินองครักษ์ ชุดดินเสนา และ ชุดดินบางเลน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินเป็นกรดจัด ทำให้พืชไม่สามารถใช้แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ต้องแก้สภาพกรดของดินโดยใช้ปูนมาร์ล
จะทำให้พืชใช้ธาตุอาหารในดินได้อย่างเต็มที่
|